บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 

วันพฤหัสบดี ที่ 3 กันยายน 2558  เวลา:08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  กิจกรรมที่ 1 : อาจารย์ผู้สอนแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น เพื่อให้เขียนชื่อจริง และชื่อเล่น จะได้ทำป้ายแขวนคอ

 





นางสาวทาริกา  เสมวงค์ (นัทตี้) ค่ะ


  •       พร้อมยังให้เพื่อนๆไปแท็กลิงค์ไว้ให้อาจารณ์ในบล็อกไปพรางๆ และอาจารย์ก็สอนทำรูปแบบบล็อคเพิ่มเติม



     ตัวอย่างบล็อคของอ.เบียร์ค่ะ


    กิจกรรมที่ 2  : ทวนเพลงจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้จับมือเป็นวงกลม และให้จับคู่กัน ให้ร้องเพลงโยทำท่าทางประกอบ



เป็นวงกลม เป็นวงกลม เป็นวงกลม



ทำกิจกรรมเพลงพร้อมท่าประกอบ + ท่าประกอบ


กิจกรรมที่ 3 : ทำการเรียนการสอน
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

 ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
  1. การฟัง
  2. การพูด
  3. การอ่าน
  4. การเขียน

องค์ประกอบของภาษา
 1. Phonology
คือระบบเสียงของภาษา
เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา

2. Semantic
คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

3. Syntax  
 ระบบไวยากรณ์
การเรียงรูปประโยค

4. Pragmatic
คือระบบการนำไปใช้
ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ (Prelinguistic Stage) 
            •อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน
            •เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ
            •ออกเสียง อ้อ  แอ้
            •เป็นช่วงที่ดีในการสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด
            •เด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะมีพัฒนาทางภาษาที่ดี
2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage)
         อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี
           •สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
           •พอใจที่ได้ส่งเสียง
           •ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาได้รับการตอบสนองในทางบวก เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก
           •บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงคนที่พูดคุยด้วย
3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage)
         อายุ 1 – 2 ปี
           •เลียนเสียงต่าง ๆ ที่เด็กได้ยิน
           •เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไป
           •พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา
           •ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ
           •ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) 
           •อายุ 2 – 4 ปี
อายุ 2 ปี 
           •เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
           •พูดเป็นคำ
           •รู้จักคำศัพท์ 150-300 คำ
           •เข้าใจสิ่งที่พูด 2 / 3
           •ใช้คำบอกตำแหน่ง
           •ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง
อายุ 3 ปี 
          •พูดเป็นประโยคได้
          •รู้จักคำศัพท์ 900-1,000 คำ  เข้าใจสิ่งที่พูด 90%
          •ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
          •สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
          •สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล
          •สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
          •ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ
          •แสดงท่าทางเลียนแบบได้
          •รู้จักใช้คำถาม อะไร
          •สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
          •เข้าใจคำถามง่ายๆ
          •บอกเพศ ชื่อ อายุตัวเองได้
อายุ 4 ปี 
         •บอกชื่อสิ่งของในรูป
         •ใช้คำบุพบทได้
         •รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
         •ชอบเล่าเรื่อง
         •ชอบพูดซ้ำๆ
         •บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
         •พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
         •สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
         •สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
         •รู้จักใช้คำถาม ทำไม
5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) 
         •อายุ 4 – 5 ปี
         •ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น
         •เริ่มเล่นสนุกกับคำและรู้จักคิดคำและประโยคของตนเอง
         •ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้
         •รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage) 
         •อายุ 5 – 6 ปี
         •สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
         •รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร
         •เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น
         •สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
         •ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว
7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage)
         อายุ 6 ปีขึ้นไป
         •เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม
         •ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
         •สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
1.วุฒิภาวะ
       อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด 376 คำต่อวัน
         •อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน
2.สิ่งแวดล้อม
        บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
        •ครู โรงเรียน
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม (Participation)

พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย

        เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ
หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

   
    การนำไปประยุกต์ใช้

          .ความรู้ในด้านภาษามีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยมาก เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการหัดแก่เด็กได้ เพราะถ้าหากเราไม่มีพื้นฐานในความรู้เกี่ยวกับภาษาของเด็ก เราอาจจะสอนผิด หรือ พูดในคำพูดที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กใช้คำพูดไม่กับวัย และอาจใช้ไปในทางที่ผิดได้  

ประเมินผล

ประเมินอาจารย์ผู้สอน 

     อาจารย์สอน ใช้คำพูดที่ง่าย เข้าใจง่าย สนุกสนานกับการเรียนไปด้วย เพราะมีกิจกรรมสอดแทรกระหว่างการเรียน มีภาพการ์ตูนด้วย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆก็น่ารัก เราไม่ได้ปริ้นใบความรู้มา ก็แบ่งให้ดู พร้อมยังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินตนเอง

     ลืมปริ้นแผ่นใบความรู้มาค่ะ ก็เลยยังเรียนในบทนี้ไม่ได้เต็มที่ แต่อ่านแล้วก็เข้าใจง่ายดี กิจกรรมสนุก ชอบค่ะ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น